ฟุตบอลไทยลีก 2015 ถ้าจะเอาแชมป์ทุกใบ แข่งกี่นัด

09/15/2015 11:55 PM Sport

วันนี้ไม่ว่าง แต่ก็อยากจะมานั่งเขียนกับคำถามที่ตัวเองอยากรู้ ว่า ถ้านักเตะคนหนึ่งเจอโปรแกรมโหดสุดชีวิตกับทุกเกมส์ของทุกถ้วยบนเวทีฟุตบอลระดับสโมสรไทยเรา 1 ฤดูกาล (2015) เขาจะมีเกมส์การแข่งขันกี่นัด

เมสซี่เจ

เมสซี่เจ

เริ่มจากรู้จักก่อนว่าสโมสร 1 สโมสรที่เจอโปรแกรมบอลทุกรายการจะต้องเจอรายการใดบ้าง

  • ถ้วยพระราชทานถ้วย ก.
  • ไทยพรีเมียร์ลีก
  • เอฟเอคัพ
  • ลีกคัพ
  • ถ้วยชิงแชมป์สโมสรเอเชีย

อันนี้คือ 5 รายการที่เกิดขึ้นในข้อแม้ที่ว่า “เก่งเว่อร” เล่นทุกถ้วย ซึ่งในที่นี้ก็มี 1 ทีมในปีนี้ที่ต้องเจอนั่นคือ สโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด นั่นเอง

ถ้วยพระราชทานถ้วย ก. 1 นัด

รายการนี้ไม่มีเกมส์หนักให้ต้องเล่นต่อเนื่อง เพราะเป็นเพียงเกมส์นัดเดียวจบ ที่เริ่มแข่งขันก่อนเปิดฤดูกาลนั่นเอง เป็นการโคจรของ “แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก” มาพบกับ “แชมป์เอฟเอคัพ” มาชนกันก่อนเริ่มฤดูกาลใหม่นั่นเอง

ไทยพรีเมียร์ลีก 34 นัด

ถ้วยใบใหญ่ที่แข่งขันกันอย่างยาวนาน ในปัจจุบันในลีกมี 18 สโมสรเข้าแข่งขัน ฉะนั้น โปรแกรมทั้งฤดูกาลจะมี 34 นัด เหย้า-เยือนแบบพบกันหมด ชิงแชมป์โดยใครมีคะแนนสูงสุดคว้าแชมป์ไปครองนั่นเอง

เอฟเอคัพ 6-7 นัด

ทัวน์นาเม้นต์บอลถ้วยที่ไม่เปิดโอกาสให้ทีมแพ้นั่นเอง มีการแข่งขัน 7 รอบ โดยถ้วยนี้สโมสรจะมีโอกาสลงเล่นสูงสุด 7 นัด แต่ถ้านัดเฉพาะทีมจากลีกสูงสุดจะขอนับเป็น 6 นัดโดยตัดรอบแรกออกไป โดยแชมป์ใบนี้มีความหมายอย่างยิ่ง โดยจะได้สิทธิ์ในการไปแข่งขันฟุตบอลรอบคัดเลือกในรายการ AFC Champions League ฤดูกาลถัดไป และได้เตะในรายการถ้วยพระราชทานถ้วย ก. ในต้นฤดูกาลหน้าอีกด้วย

  • รอบแรก – เปิดรับสมัครสโมสร จาก ไทยลีกดิวิชั่น 1, ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2, ถ้วย ข, ถ้วย ค และ ถ้วย ง
  • รอบสอง (64 ทีมสุดท้าย) – 18 สโมสร ไทยพรีเมียร์ลีก และ 9 สโมสรผู้ชนะรอบแรก + 37 สโมสรผู้ชนะบาย
  • รอบสาม (32 ทีมสุดท้าย) – 32 สโมสร ผู้ชนะรอบสอง
  • รอบสี่ (16 ทีมสุดท้าย)
  • รอบก่อนรองชนะเลิศ (8 ทีมสุดท้าย)
  • รอบรองชนะเลิศ
  • รอบชิงชนะเลิศ

ลีกคัพ 8-10 นัด

ถ้วยลีกคัพ มีโปรแกรมคล้ายๆกับเอฟเอคัพ แต่โปรแกรมจะหนักกว่านิดหน่อย เนื่องจากบางรอบการแข่งขันมีการแข่งขันเหย้า-เยือน

  • รอบเพลย์ออฟ (รอบแรก), (รอบสอง) – 70 สโมสร จาก ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (แข่งขันนัดเดียว)
  • รอบ 64 ทีม – 18 สโมสร ไทยพรีเมียร์ลีก, 18 สโมสร ลีก ดิวิชั่น 1 + 28 สโมสรจากรอบคัดเลือก (แข่งขันนัดเดียว)
  • รอบ 32 ทีม – 32 สโมสร ผู้ชนะรอบ 64 ทีม (แข่งขันนัดเดียว)
  • รอบ 16 ทีม – 16 สโมสร ผู้ชนะรอบ 32 ทีม (แข่งขันนัดเดียว)
  • รอบ 8 ทีม – 8 สโมสร ผู้ชนะรอบ 16 ทีม (แข่งขัน 2 นัด เหย้า-เยือน)
  • รอบรองชนะเลิศ – 4 สโมสร ผู้ชนะรอบ 8 ทีม (แข่งขัน 2 นัด เหย้า-เยือน)
  • รอบชิงชนะเลิศ

เท่ากับว่าในรายการนี้ โปรแกรมจะแข่งขันกันที่ 10 นัดนับจากรอบแรกถึงรอบชิงชนะเลิศ หรือ ตัดออกไป 1 เกมส์หากเป็นทีมจากลีกสูงสุดที่ไม่ต้องเตะในรอบแรกและรอบสอง

ถ้วยชิงแชมป์สโมสรเอเชีย (AFC Champions League)

ถ้วยนี้พูดสั้นๆเลยละกัน เพราะโปรแกรมนี้นัดเฉพาะรอบแบ่งกลุ่มไปเลยสั้นๆง่ายดี อยู่ที่ 6 นัด เนื่องจากปีล่าสุดสโมสรไทยอย่างบุรีรัมย์ยูไนเต็ด จบเพียง 6 นัด ขณะที่สโมสรบางกอกกล๊าสเอฟซี และชลบุรีเอฟซี ปีนี้หยุดที่การแข่งขันรอบ Play Off เท่านั้น

หากรวมเกมส์คร่าวๆของสโมสรดูแล้ว ทีมที่ต้องการลุ้นทุกถ้วยในไทย จะมีโปรแกรมสูงถึงกว่า 55 แมตซ์ในการแข่งขันเลยทีเดียว

ทั้งนี้หากมองกันที่เกมส์ร่วม 60 นัดของฤดูกาล 1 ฤดูกาลที่ใช้เวลาประมาณ 9-10 เดือน อาจจะไม่มีความหนักหน่วงมากสักทีเดียว แต่ว่า มันไม่จบลงเพียงเท่านี้ เนื่องจากในแต่ละปีของวงการฟุตบอลบ้านเรา จะมีโปรแกรมฟุตบอลระดับนานาชาติมาร่วมด้วย โดยมีรายการดังต่อไปนี้ ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก, ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียรอบคัดเลือก, ฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์, ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซี่ยน, ฟุตบอลซีเกมส์

ในรายการเหล่านี้ มักจะแข่งขันวนไม่ทับกันแน่นมากสักทีเดียว เพียงแต่ว่า ในโปรแกรมฟุตบอลไทยเวลานี้ ให้ความสำคัญกับรายการนี้มากเป็นพิเศษ ทำให้โปรแกรมการเก็บตัวของรายการบางรายการ (เช่น เอเชี่ยนเกมส์ และซีเกมส์) ใช้เวลาเก็บตัวร่วม 1 เดือน โดยปิดพักการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกไปในทันที

นี้จึงเป็นปัญหาทำให้ โปรแกรมที่ว่ากว่า 60 นัดของฟุตบอลระดับสโมสรมีปัญหานั่นเอง

หากนับเฉพาะทีมจากไทยลีก ที่ต้องการคว้าทริปเปิ้ลแชมป์ (โดยไม่เตะรายการนานาชาติ) จะต้องลงแข่งขันทั้งหมด 48 นัด

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่ผ่านมาเช่น ในปี 2014 ที่มีรายการฟุตบอลเอเชี่ยนส์เกมส์เกิดขึ้นระหว่างฤดูกาล ฟุตบอลบ้านเราหยุดการแข่งขันบอลภายในทั้งหมด และกลับมาแข่งขันต่อหลังจากจบทัวน์นาเม้นต์ แต่ปัญหาไม่จบเพียงเท่านี้ เนื่องจากการกลับมาแข่งขันต่อ ต้องเร่งให้จบให้ไวที่สุด เพื่อการเก็บตัวและเตรียมตัวแข่งขัน “ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซี่ยน” หรือซูซูกิคัพต่อนั่นเอง

ทำให้ช่วงปลายฤดูกาลของฟุตบอลระดับสโมสร ต้องแข่งขันกันแบบบ้าเลือด ด้วยการแข่งขันในทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ต่อด้วย กลางสัปดาห์ ทำแบบนี้จนกระทั่งจบฤดูกาลนั่นเอง

แน่นอนว่า ฤดูกาล 2015 ณ เวลาที่เขียนตอนนี้ (15 กันยายน) ผ่านการแข่งขันไปแล้ว 22 นัด เหลืออีก 12 นัด กับเวลา 3 เดือนตามโปรแกรม กับอีกหลายแมตซ์ของฟุตบอลถ้วยทั้งเอฟเอคัพและลีกคัพ ซึ่งถือว่ายังไม่แน่นจนทำให้โปรแกรมอัดหนักจนเกินไป

แต่ว่า ข่าวแว่วมาว่า ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกในเกมส์ถัดไป จะถูกเลื่อนโปรแกรมไทยลีกไปอีก เพื่อเปิดโอกาสให้เก็บตัวนานขึ้นของฟุตบอลทีมชาติ

นี้คือปัญหาที่จะไม่มีวันรู้จบ หากโปรแกรมไม่นิ่ง เหตุเพราะทีมชาติไทยขยายเวลาเก็บตัวนานขึ้นนั่นเอง ในวันแรกที่ฟุตบอลไทยกลับมาบูมผ่านมาถึงวันนี้ก็เข้าฤดูกาลที่ 7 แล้ว โปรแกรมฟุตบอลไทยไม่เคยนิ่งเลย!!

 

 

Kuntana A.

บล็อคของคนๆนึงที่ทำงานเกี่ยวกับ Digital Marketing ในนาม Semicolon และทำร่วมกับภรรยาเกี่ยวกับของพรีเมี่ยม ในนาม Kingkong Premium || สนใจ ฟุตบอล, อาหาร และเรื่องเทคโนโลยี

More Posts

ฝากกดไลก์ กดติดตามเพจของเราได้นะครับ
และถ้าแบรนด์สินค้าและบริการใด อยากให้เราได้ใช้บริการอะไร หรือได้ลองสินค้าตัวไหน ก็ส่งมาได้นะ ^^ มันอาจจะเป็นบล็อคที่เงียบเหงา ผู้ติดตามไม่น้อย แต่ผู้เขียนรู้เทคนิคการเขียนบทความให้ติดอันดับ SEO ได้นะครับ ฉะนั้นอาจเป็นจุดแข็งที่คุณอาจสนใจเราก็เป็นได้
(แฟนเพจร้างนะ ไม่ได้อัพเดทอะไรเลย)